กรุสำหรับ กุมภาพันธ์, 2012

สถานที่ท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่

Posted: กุมภาพันธ์ 25, 2012 by thuwanon in Uncategorized
ม่อนแจ่ม อำเภอแม่ริม

ม่อนแจ่ม

                แม่ริม อำเภออีกหนึ่งอำเภอที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก ใช้เวลาเดินทางเพียงงไม่ถึงสี่สิบนาทีจากตัวเมือง เราก็จะได้พบกับ สถานที่ท่องเที่ยวสวยงามและน่าสนใจมากมาย เริ่มจาก ม่อนแจ่ม แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่มีวิวทิวทัศน์สวยงาม และดอกไม้เมืองหนาวนานาชนิดให้เราได้ชมมากมายและด้วยการจัดตกแต่งที่ค่อยข้างจะครีเอทให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังเดินเล่นอยู่ท่ามกลางมวลหมู่ดอกไม้ ไม่ว่าจะหันไปมุมไหนก็ตาม ม่อนแจ่ม จึงกลายเป็นสถานที่สุดแสนโรแมนติกอีกแห่งหนึ่ง ที่ไม่ควรพลาดและใ่ส่ไว้ในจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว

ม่อนแจ่ม

                ม่อนแจ่ม เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านม้ง หนองหอย อ.แม่ริม   มีอากาศเย็นสบายตลอดปี มีหมอกยามเช้าให้ได้ชม สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ โดยรอบไกลสุดลูกหูลูกตา เมื่อก่อนพื้นที่ บริเวณนี้ เป็นป่ารกร้าง จนในท้ายที่สุดโครงการหลวงมาขอซื้อพื้นที่ เมื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลวง คุณแจ่ม-แจ่มจรัส สุชีวะ หลานของ ม.จ. ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้เข้ามาพัฒนาและปรับปรุงบริเวณม่อนแจ่มให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะในลักษณะ ของแค้มปิ้งรีสอร์ท  ที่พักเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ข้างบน คือ ม่อนแจ่ม แคมปิ้ง รีสอร์ท มีร้านอาหารให้บริการ มีที่พักแบบเต้นท์พร้อมเครื่องนอน (ไม่อนุญาติให้นำเต้นท์ส่วนตัวมากางข้างบน) นอกจากนี้ก็จะมีที่พักของเอกชนต่างๆ ที่ตั้งอยู่ระหว่างทางขึ้นไปม่อนแจ่ม ให้บริการอีกหลายแห่งแต่ไม่เยอะมาก

ม่อนแจ่ม

 ม่อนแจ่ม มีเนื้อที่ไม่กว้างมาก จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โซนนั่งเล่น รับประทานอาหาร เป็นกระท่อมแนบชิดธรรมชาติ นั่งทานไปชมวิวภูเขาไป

1.โซนนั่งเล่น

ม่อนแจ่ม

 2. โซนแปลงปลูกดอกไม้เมืองหนาว

ม่อนแจ่ม

การเดินทาง

              “ม่อนแจ่ม” เป็นส่วนหนึ่งของ “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย” อ.แม่ริม ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง40นาทีจากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ตรงไปถึงอำเภอแม่ริมบริเวณ กม. 17 ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1096 สายแม่ริม-สะเมิง ถึง กม. 15 ให้เลี้ยวขวาที่บ้านโป่งแยกไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็ถึงบนสันเขาม่อนแจ่ม

ที่มา :  http://www.paiduaykan.com/travel/travelmaerim/

post by : นาย ธุวานนท์   ธนะศรีสืบวงศ์

สถานที่ท่องเที่ยว จ.ร้อยเอ็ด

Posted: กุมภาพันธ์ 25, 2012 by thuwanon in Uncategorized
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล 

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ร้อยเอ็ด

 พระมหาเจดีย์ชัยมงคล

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา ฅ
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาต ุ
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ร้อยเอ็ด

พระเจดีย์นี้สร้างมานานกว่า 18 ปี จนปัจจุบันนี้ยังสร้างไม่เสร็จ ชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีกธาตุและพระสาวก

 พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ร้อยเอ็ด

 การเดินทาง

1.รถส่วนตัว
จากตัวเมืองร้อยเอ็ด นั้นใช้เส้นทาง ร้อยเอ็ด – โพนทอง – หนองพอก ระยะทาง 62 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2044 และ 2136 ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงถึงอำเภอหนองพอกต่อไปยังบ้านท่าสะอาด ตำบลผาน้ำย้อย และขึ้นเขาเขียวไปอีก 5 กม. ก็จะถึงวัดเจดีย์ชัยมงคลสถานที่ตั้งของ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล

2.รถประจำทาง
สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ สายที่ผ่านอำเภอหนองพอก จะเป็น กรุงเทพฯ-มุกดาหาร ถ้าเป็นกรุงเทพฯ-ร้อยเอ็ด จะถึงแค่อำเภอเมือง จากนั้นเหมารถสองท้องถิ่นในอำเภอเพื่อเดินทางไปยังวัดมหาเจดีย์ชัยมงคล

ที่มา : http://www.paiduaykan.com/province/Northeast/roiet/prajadeechaimongkol.html

post by : นาย ธุวานนท์   ธนะศรีสืบวงศ์

สถานที่ท่องเที่ยว จ.อุดรธานี

Posted: กุมภาพันธ์ 25, 2012 by thuwanon in Uncategorized
ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี

ทะเลบัวแดง

ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี

ความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวทะเลบัวแดง
                  จังหวัดอุดรธานีมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด คือ หนองหาน มีพื้นที่ประมาณ ๒๒,๕๐๐ ไร่ หรือ ๓๖ ตารางกิโลเมตร มีความยาวของคันดินรอบหนองหาน
ยาวถึง ๘๐ กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอกุมภวาปีเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนอยู่ในเขตอำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอกู่แก้ว เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภค
บริโภคของชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบหนองหาน จนได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่ ชุ่มน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
หนองหาน นอกจากจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลา พันธุ์นก และพืชน้ำ จำนวนมาก ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบหนองหานได้พึ่งพาเป็นแหล่งอาหารแล้วนั้น ยังมีระบบนิเวศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเป็นที่สนใจของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มาศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้ว ธรรมชาติของหนองหาน ยังได้บรรจงสร้างทะเลบัวแดงเพิ่มความงดงามให้แก่หนองหานมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ดอกบัวแดงในหนองหานซึ่งมีจำนวนมากจะงอกงามโผล่จากน้ำขึ้นมา โดยเริ่มจากเดือนตุลาคมบัวเริ่มแตกใบและเริ่มออกดอกตูมและบานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บัวจะออกดอกมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และค่อย ๆ ลดปริมาณลงในเดือนมีนาคม ดอกบัวจะบานในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจะมองเห็นดอกบัวแดงบานเต็มท้องน้ำหนองหานสุดลูกหูลูกตางดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่าทะเลบัวแดง

 ทะเลบัวแดง

ตำนานรักพญานาค:เมืองล่มจมบาดาลที่หนองหาน

                 มีหมู่บ้านที่อยู่ติดริมหนองหานและอยู่ในอาณาบริเวณรวมแล้วประมาณ ๖๐ หมู่บ้านจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าหนองหานมีความกว้างใหญ่เพียงใดและมีตำนานเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาคที่มีชื่อเสียงว่า ตำนานผาแดงนางไอ่ ซึ่งคนในชุมชนยังมีความเชื่อในตำนานเรื่องนี้สืบต่อกันมายาวนาน
ตำนานโบราณเกี่ยวกับหนองหานที่เล่าขานกันมาตั้งแต่โบราณ กล่าวไว้ว่า นางไอ่เป็นธิดาของพระราชาเมืองขอม ซึ่งมีสิริโฉมงดงาม เป็นที่หมายปองของเจ้าชายเมืองต่าง ๆ มีอยู่ปีหนึ่ง เมืองขอมประสบปัญหาฝนแล้ง เจ้าเมืองขอมจัดการแข่งขันบั้งไฟ และมีการจุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงทายขอฝน และหากบั้งไฟของใครขึ้นสูงที่สุด จะยอมยกธิดา คือนางไอ่คำ ให้เป็นภรรยา มีเจ้าชายจากนครต่าง ๆ เข้าแข่งขัน รวมทั้งท้าวผาแดงแห่งเมืองผาโพง

                    ฝ่ายท้าวภังคี โอรสของพญานาค ในนครบาลดาล ทราบข่าว ก็ยกพลพญานาคปลอมตัวเป็นคนเข้ามาเข้าแข่งขันด้วย บั้งไฟของพญานาคภังคีไม่ชนะ แต่เมื่อภังคีได้ยลโฉมนางไอ่คำก็ไม่สามารถจะถอนใจรักได้ จึงปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาในสวนดอกไม้ของนางไอ่คำ ด้วยเคราะห์แต่ชาติปางก่อน นางไอ่คำเกิดคิดวิปริต ต้องการบริโภคเนื้อกระรอกเผือก จึงสั่งให้นายพรานตามล่ามาปรุงอาหาร และนายพรานก็ยิงกระรอกเผือกได้ ก่อนตายได้อธิษฐานว่า ใครก็ตามที่ได้บริโภคเนื้อของตนจงจมน้ำตายในบาดาล นางไอ่คำได้นำเนื้อกระรอกมาปรุงอาหาร และแจกจ่ายเนื้อกระรอกไปทั้งเมือง ในคืนนั้นเองเกิดพายุฝนแผ่นดินไหว น้ำท่วมพัดพาผู้คนลงสู่หนองหานและท้องบาดาล ท้าวนาคราชบิดาของภังคี โกรธที่โอรสถูกฆ่า จึงพานาคจากเมืองบาดาลมาอาละวาดถล่มเมืองขอมจนสิ้น ส่วนท้าวผาแดง เมื่อเห็นเมืองขอมถล่มได้พานางไอ่คำขึ้นม้าควบหนีไปทางทิศเหนือ หนีน้ำและบรรดาพญานาคที่ตามพ่นไฟไล่หลังมา วิญญาณแค้นของภังคีได้วนเวียนมาทวงความแค้นกับผาแดงนางไอ่ตลอดมาทุกชาติ ๆ

                    บริเวณที่พวกนาคถล่มจมพื้นบาดาล ได้กลายเป็นหนองหาน ณ ปัจจุบัน อยู่ในจังหวัดอุดรธานี เป็นต้นลำน้ำปาว มีเกาะต่าง ๆ ที่เหลือจากการล่ม คือ เกาะเกษ ดอนสวน ดอนเตา ดอนดินจี่ ดอนแอ่น และดอนหลวง มีสถานที่เป็นทางผ่านของผาแดง นางไอ่ เช่น ห้วยพ่นไฟ ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้องห้วยกองสี ฯลฯ ประชาชนรอบ ๆ หนองหาน ได้สร้างเจดีย์ วัด และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณ ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมจมน้ำตายในครั้งนี้ ได้แก่ พระธาตุเชียงแก้ว พระธาตุดอยหลวง พระธาตุบ้านเดียมพระธาตุจอมศรี พระมหาธาตุเจดีย์(พระธาตุดอนแก้ว) ศาลท้าวผาแดง เป็นต้น

แผนที่การเดินทาง

ที่มา : http://www.kumpawahealth.com/work3.htm

post by : นาย ธุวานนท์   ธนะศรีสืบวงศ์

สถานที่ท่องเที่ยว จ.สุพรรณบุรี

Posted: กุมภาพันธ์ 24, 2012 by thuwanon in Uncategorized
พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

                    พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ สุพรรณบุรี ห่างจากฝั่งแม่น้ำไปตามถนนมาลัยแมน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลอง เนื่องใน โอกาส ที่ี่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539 ขณะที่ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

โดยได้เริ่มจัดทำและออกแบบพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธ์มังกร ขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของชาวจีน ในประเทศไทย ตลอดจนประวัติศาสตร์และอารยธรรมจีน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็น อารยธรรมที่เก่าแก่และ สำคัญ ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกซึ่งมีอายุยาวนานถึง 5,000 ปี บริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในอนาคตตัวอาคารอุทยานมังกรสวรรค์ฯ ออกแบบเป็นสัญลักษณ์ รูปมังกรสัตว์เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ลำตัวมังกรภายนอก ออกแบบอย่างถูกต้องตามลักษณะความเชื่อ หน้าต้องเป็นอูฐ ตาเหมือนกระต่าย มองเห็นในสิ่งที่คนทั่วไปมองไม่เห็น มีเขาของกวาง หูของวัว ตัวของงู เกล็ดของปลา ขาของเสือ อุ้งเท้าของ เหยี่ยว สีของลำตัวเลียนแบบเครื่องกังไสโบราณ ภายใต้ตัวมังกรใหญ่ เป็นที่ตั้งของ“พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร”

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

                  ภายในจัดแสดงเรืองราวประวัติศาสตร์จีน ตั้งแต่สมัยตำนานการสร้างโลกยุคแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ ลำดับ ราชวงศ์ตั้งแต่ยุคหวงตี้ เหยียนตี้ ยุคเซี่ย ซาง อันถือเป็นยุคปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์โจว ราชวงศ์จิ๋น ราชวงศ์ฮั่น ยุคสามก๊ก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ้อง ราชวงศ์หมิง ถึงราชวงศ์ซิง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย สมัยเปลี่ยน แปลงการปกครอง และแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพี่น้องไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย เรื่องราวที่ นำเสนอประกอบด้วย เหตุการณ์ สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญ ปรัชญา ภูมิปัญญา และการค้นพบ ประดิษฐกรรมสำคัญของบรรพบุรุษชาวจีน ผ่านสื่อจัดแสดงที่ทันสมัยและสวยงาม

ศาลหลักเมือง

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

                     การจัดแสดงนิทรรศการภายในตัวมังกรใช้สื่อจัดแสดงที่ทันสมัยจะแบ่งออกเป็น 20 ห้อง โดยมีชื่อเรียกในแต่ละ ห้อง แตกต่างกันไป ได้แก่ ห้องฉายภาพยนตร์, ห้องเทพนิยาย (กำเนิดโลก) ,ห้องเทพนิยาย (กำเนิดมนุษย์), ห้องตำนาน (เสินหนง) ,ห้องตำนาน (ปฐมกษัตริย์), ห้องราชวงศ์เซี่ย-ซาง ,ห้องราชวงศ์โจว ,ห้องราชวงศ์ฉิน, ห้องราชวงศ์ฮั่น ห้องสามก๊ก, ห้องราชวงศ์สุย ,ห้องราชวงศ์ถัง ,ห้องราชวงศ์ซ่งเหนือ (เปาบุ้นจิ้น), ห้องราชวงศ์ ซ่งใต้ ,ห้องราชวงศ์หยวน ห้องราชวงศ์หมิง (เจิ้งเหอ), ห้องราชวงศ์หมิง (เครื่องลายคราม), ห้องราชวงศ์ชิง (โรงงิ้ว-โรงฝิ่น) ,ราชวงศ์ชิง (จักรพรรดิ์องค์สุดท้าย), ห้องยุคสาธารณรัฐ ,ห้องชาวไทยในประเทศสยาม ,หลังจากนั้นก็จะ เป็นห้องขายของที่ระลึก พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร เป็นการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญระดับประเทศ ให้เกิด ขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นจังหวัดตัวอย่างในการพัฒนาของประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

การเดินทาง

1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง เลือกเดินทาง ได้ 6 เส้นทาง คือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 107 ก.ม. ผ่านอำเภอบางบัวทองไปจนถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี หรือจากกรุงเทพฯผ่านนนทบุรี อำเภอบางบัวทอง ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 115 ก.ม.ผ่านจังหวัดปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว ถึงตัวจังหวัด สุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 132 ก.ม. ผ่านจังหวัดพระนครศรี อยุธยา ถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯระยะทางประมาณ 228 ก.ม. ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเดิมบางนางบวช ไปจนถึงตัว
จังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 5จากกรุงเทพฯระยะทาง 150 ก.ม. ผ่านจังหวัดอ่างทอง ไปจนถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
เส้นทางที่ 6 จากกรุงเทพฯระยะทาง 164 ก.ม. ผ่านจังหวัดนครปฐม อำเภอกำแพงแสน ไปจนถึงตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1543

2.รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ไปสุพรรณบุรี ทุกวันทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2936-2852-66 ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2894-6122 สถานีขนส่งสุพรรณบุรี
โทร. 0-3552-2373
และบริษัท สุพรรณทัวร์ โทร. 0-2884-9522 (สุพรรณบุรี) โทร. 0-3550-0817 ออกจากกรุงเทพ เที่ยวแรก 06.00 น.เที่ยวสุดท้าย 18.30 น. ออกจากสุพรรณบุรี เที่ยวแรก 04.00 น. เที่ยวสุดท้าย 17.45 น. หรือ http://www.transport.co.th

3. รถไฟ
ถ้าต้องการบรรยากาศท่องเที่ยวโดยรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยก็มีขบวนรถไฟไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี รถออกเวลา 16.40 น. ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง

รถสองแถว (บริการเฉพาะภายในตัวเมืองสุพรรณ)
การเดินทางในตัวเมืองสุพรรณบุรีมีรถสองแถวให้บริการ โดยขึ้นบริเวณสี่แยกนางพิม หากต้องการเดินทาง ออกนอก ตัวเมือง ติดต่อสอบถามที่คิวรถ บริเวณสี่แยกนางพิมได้เลย

 ที่มา : http://www.paiduaykan.com/76_province/central/suphanburi/museum.html

post by : นายธุวานนท์   ธนะศรีสืบวงศ์

สถานที่ท่องเที่ยว จ.สมุทรสาคร

Posted: กุมภาพันธ์ 24, 2012 by gamyuy in Uncategorized
ศาลพันท้ายนรสิงห์

                     พันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้ายเรือในสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ วันหนึ่งพระเจ้าเสือได้เสด็จประพาสต้นด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัย มาตามคลองโคกขาม โดยมีพันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือ คลองนี้คดเคี้ยวและน้ำเชี่ยวมากไม่สามารถบังคับทิศทางเรือได้ ทำให้หัวเรือชนเข้ากับต้นไม้จนหัวเรือหัก พันท้ายนรสิงห์จึงขอให้พระเจ้าเสือประหารตนเสียตามกฏมณเฑียรบาล ศาลพันท้ายนรสิงห์ จึงเป็นอนุสาวรีย์แห่งความซื่อสัตย์ รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลยิ่งกว่าชีวิตตน

ศาลพันท้ายนรสิงห์

                   ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็นอนุสาวรีย์แห่งความซื่อสัตย์ รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลยิ่งกว่าชีวิตตน แต่เดิมศาลนี้ตั้งอยู่ในคลองโคกขาม บริเวณที่หัวเรือพระที่นั่งเอกชัยชนกิ่งไม้หัก แต่เนื่องจากคลองโคกขามตื้นเขินมาก ประกอบกับสถานที่เดิมอยู่ไกล จึงย้ายศาลไปไว้ที่บริเวณปากคลองมหาชัย ต่อกับคลองโคกขาม ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงมาไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบๆ ศาลไว้ประมาณ 100 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น ” อุทยานพันท้ายนรสิงห์” ภายในศาลมี รูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าของจริงในท่าถือท้ายคัดเรือ 

ภายในบริเวณศาสพันท้ายนรสิงห์

                   เมื่อยึดถือท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ ศาลนี้จึงเป็นที่พึ่งทางใจของคนอีกแห่งหนึ่ง ที่นิยมกันมาขอพร ให้ตนประสบผลสำเร็จ เมื่อขอไปแล้วสัมฤทธิ์ผล ช่วงแรกคนจึงนำนวมชกมวยและไม้พายเรือ มาแก้บน เนื่องจากตามประวัติท่านชอบชกมวยและตีไก่ ต่อมาช่วงหลังจึงมีคนนำรูปปั้นไก่แก้วมาแก้บน ซึ่งตั้งคู่อยู่ตรงทางขึ้นก่อนเข้าประตูศาล เมื่อคนเห็นว่าบนแล้วประสบความสำเร็จ จึงเป็นที่นิยมบนกันในเวลาต่อมา
หลังจากนั้น ปริมาณของนวมชกมวยและไม้พายเรือที่นำมาแก้บนเริ่มเยอะขึ้นเรื่อย ๆ จึงนำออกประมูลขาย เพื่อนำรายได้เข้าทำนุบำรุงศาลพันท้ายฯ ต่อไป

  เรือขุดโบราณ                

                      ทำจากไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ มีความยาว 19.47 เมตร กว้าง 2.09 เมตร สูง 1 เมตร และกาบเรือหนา 7.5 ซ.ม. คาดว่ามีอายุกว่า 300 ปี ชาวบ้านใน ต. พันท้ายนรสิงห์ เป็นผู้ขุดพบ และนำมาบริจาคไว้ที่ศาลพันท้ายฯ ชาวบ้านในแถบนี้เชื่อว่า อาจเป็นเรือในขบวนเสด็จ หรือ เรือที่ใช้ลำเลียงทหารในอดีต

หลักประหาร
                    เสาไม้ที่เห็นครอบแก้วไว้คือ หลักประหารของจริง ที่เหลือเพียงแค่เสาไม้ชิ้นเดียว ส่วนทางด้านซ้ายที่เป็นเสารูปไม้กางเขน เป็นเสาจำลองที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้คนที่ไปเที่ยวชมเห็นแล้วจะได้รู้ว่าตรงนี้เป็นหลักประหารเดิม พร้อมมีป้ายห้ามขีดหรือถูไว้ด้วย

ศาลเพียงตาพันท้ายนรสิงห์

หัวเรือพระที่นั่งที่ชนต้นไม้หักลงมา

หลังประหารพันท้ายนรสิงห์แล้ว สมเด็จพระเจ้าเสือให้สร้างศาลขึ้นสูงเพียงตาเอาศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือที่หักนั้นขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาลนั้น

Photobucket

ศาลาหุ่นจำลองเหตุการณ์

จำลองเหตุการณ์เมื่อพันท้ายนรสิงห์ เข้าไปถวายบังคมกราบทูลให้สมเด็จพระเจ้าเสือทรงประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาล

ศาลแม่ศรีนวล ภรรยาพันท้ายนรสิงห์

การเดินทาง

การเดินทางจากถนนพระราม 2 บริเวณกิโลเมตรที่ 16-17 เข้าซอยข้างวัดพันท้าย มีป้ายบอกทางทุกระยะไปศาลพันท้ายนรสิงห์

 

 

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/ddstory/2011/02/28/entry-1

post by : น.ส.ศรัญญา   มีมุ้ย

สถานที่ท่องเที่ยว จ.นครปฐม

Posted: กุมภาพันธ์ 24, 2012 by gamyuy in Uncategorized
พระปฐมเจดีย์

พระปฐมเจดีย์ :: พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

พระปฐมเจดีย์

                    พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนทันตธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปูชนียสถานสำคัญที่ยิ่งใหญ่ โดดเด่นมองเห็นแต่ไกล คู่บ้านคู่เมืองไทยและเมืองนครปฐมมานาน  ตั้งอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม เป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความเก่าแก่มากจัดเป็นพุทธสถานรุ่นแรกๆ ที่พบในประเทศไทย

มีตำนานเกี่ยวกับองค์พระเจดีย์อยู่หลายเรื่อง เช่นเรื่องพระยากง-พระยาพาน ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเจดีย์นี้ องค์พระเจดีย์องค์เดิมเป็นรูปทรงโอสำหรับตักน้ำหรือบาตรคว่ำ มีส่วนสูง 18 วา 2 ศอก ต่อมาได้มีผู้ศรัทธาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมเป็นระยะๆ จนกลายเป็นพุทธเจดีย์ขนาดใหญ่ รูปทรงบาตรคว่ำ ยอดปรางค์ สูง 40 วา 2 ศอก

การบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่ เริ่มดำเนินการ ในปี พ.ศ.2396 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปีที่เสด็จสวรรคต พ.ศ.2411ได้เปลี่ยนรูปทรงใหม่เป็นพระเจดีย์แบบสถาปัตยกรรมไทยรูประฆังคว่ำยอดแหลมปากผาย โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมา ก่ออิฐถือปูนประดับกระเบื้องเคลือบ ครอบพระมหาสถูปรูปทรงบาตรคว่ำยอดปรางค์องค์เดิมไว้ มีพระวิหาร 4 ทิศ และพระวิหารคตระเบียงจารึกคาถาธรรม (ธรรมเจดีย์) ล้อมรอบองค์พระมหาสถูป “พระปฐมเจดีย์” พร้อมด้วยซุ้มระฆังจำนวน 24 หลัง และทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถพระวิหารโรงธรรม พร้อมด้วยกุฏิสงฆ์ประจำวัดอีกจำนวน 24 หลัง ต่อมารัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงรัชกาลที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือสร้างใหม่ เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร มีความสูง 12 ศอก 4 นิ้ว แล้วนำไปประดิษฐานที่ซุ้มพระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 และถือว่าวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 และต่อมารัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2509 ทางวัดพบว่าตัวองค์พระปฐมเจดีย์มีรอยแตกร้าวหลายแห่ง กระเบื้องที่ประดับหลุดร่วงลงมา จึงได้แจ้งให้ทางการทราบ จากการสำรวจพบว่าองค์พระมีความชำรุดเสียหายมาก รัฐบาลจึงได้อนุมัติงบประมาณ และให้กรมโยธาธิการ และกรมศิลปากร ได้ลงมือทำการ ซ่อมแซมบูรณะมาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2518 สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เป็นองค์พระปฐมเจดีย์ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้

พระปฐมเจดีย์ :: พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ

พระร่วงโรจนฤทธิ์  เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทมาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แล้วโปรดเกล้าฯให้ช่างทำรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์เต็มองค์ทำพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. 2456แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในซุ้มวิหารด้านทิศเหนือตรงกับบันไดใหญ่และพระราชทานนามว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาสมหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร”  และที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์  ตั้งอยู่บริเวณชั้นลดด้านทิศตะวันออกตรงข้ามพระอุโบสถภายในเก็บวัตถุโบราณที่ขุดพบได้จากสถานที่ต่างๆในจังหวัดนครปฐมทั้งสมัยบ้านเชียง สมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูป หินบดยาลูกประคำดินเผา กำไลข้อมือ เงินโบราณ ฯลฯและยังเป็นที่เก็บหีบศพของย่าเหลและโต๊ะหมู่บูชาซึ่งใช้ในพิธีศพของย่าเหลซึ่งเป็นสุนัขที่รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดปรานมากและถูกคนลอบยิงตายพระองค์ทรงเสียพระทัยมาก โปรดฯให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้อาลัย พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-16.30 น. (ปิดช่วงเวลา12.00–13.00)

กิจกรรมที่น่าสนใจ

นมัสการองค์พระปฐมเจดีย์

นมัสการพระร่วงโรจนฤทธิ์

ชมปูชนียสถานที่สำคัญของไทย

พระปฐมเจดีย์ :: พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

การเดินทาง

ตั้งอยู่ที่ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม กลางเมืองนครปฐม

ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายเก่า สายถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4)ผ่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ สามพราน ไปจนถึงจังหวัดนครปฐม หรือ เส้นทางสายใหม่จากกรุงเทพฯ ถนนบรมราชชนนี ผ่านพุทธมณฑล นครชัยศรี ไปจนถึงตัวจังหวัดนครปฐม

ทางรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถไฟไปจังหวัดนครปฐมทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

รถโดยสารประจำทาง สามารถเดินทางได้จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่เวลา 05.30-23.15 น. ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศวิ่ง 2 เส้นทาง คือสายเก่า (กรุงเทพฯ-อ้อมใหญ่-สามพราน-นครปฐม) มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, กรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-บางลี่

สายใหม่ (กรุงเทพฯ-พุทธมณฑล-นครชัยศรี-นครปฐม)สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 1 สายกรุงเทพฯ-นครปฐม,กรุงเทพฯ-ด่านช้าง(สีน้ำเงิน) หรือ รถโดยสารปรับอากาศชั้น 2สายกรุงเทพฯ-นครปฐม, สายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก, กรุงเทพฯ-เพชรบุรีตั้งแต่เวลา 05.30-23.00 น. รถอกทุก 15 นาที

ที่มา : http://www.siamfreestyle.com/travel-attraction/nakhonpatom

post by : น.ส.ศรัญญา    มีมุ้ย

สถานที่ท่องเที่ยว จ.ชัยนาท

Posted: กุมภาพันธ์ 24, 2012 by gamyuy in Uncategorized
สวนนกชัยนาท

สวนนกชัยนาท จ.ชัยนาท :: สวนนกชัยนาท

สวนนกชัยนาท

                   ชมนกหายากในกรงใหญ่ที่สุดในเอเชีย ที่สวนนกชัยนาท สวนนกชัยนาทเริ่ม สร้างตั้งแต่ ปี 2526 ตั้งอยู่ที่บริเวณเชิงเขาพลอง หมู่ที่ 4 ตำบลเขาท่าพระ อ.เมือง จ.ชัยนาท ริมถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) ก่อนถึงตัวเมือง 4 กิโลเมตร มีพื้นที่ 260 ไร่ มีกรงนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ครอบคลุมพื้นทื่ 26 ไร่ ภายในกรงนกเป็นสถานที่จัดแสดงนกพันธุ์ต่าง ๆ  มากมาย โดยจะปล่อยไห้อยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งมีนกกว่า 100 ชนิด เป็นนกชนิดที่มีในประเทศและนกที่นำมาจากต่างประเทศ ด้านนอกกรงใหญ่ก็ยังมีกรงจัดแสดงนกขนาดกลางและขนาดเล็กอีก 63 กรง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนกที่หาดูได้ยากแทบทั้งหมด นอกจากนั้น ในบริเวณด้านนอกทั่วบริเวณสวนนก จัดเป็นสวนสุขภาพมีอ่างน้ำขนาดใหญ่และเส้นทางเดินพักผ่อนศึกษาธรรมชาติ

สวนนกชัยนาท จ.ชัยนาท :: สวนนกชัยนาท

                  ทั่วบริเวณสวนนก นอกกรงใหญ่ จะจัดเป็นสวนธรรมชาติที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่และมีสวน ไม้ดอกที่มีสีสันสวยงามสลับไปกับที่นั่งพักผ่อน  ทำเป็นทางรถวิ่งและทางเท้ารอบๆ สวนนกและอ่างเก็บน้ำ มีแพขนาดใหญ่บริเวณอ่างน้ำ สำหรับนั่งพักผ่อนและให้เอาหารปลาที่อยู่ในอ่าง(มีจุดบริการอาหารปลาให้ พร้อม) และภายในอ่างเก็บน้ำก็มีเรือถีบให้เราลงไปปั่นและพักผ่อนกับอากาศโล่งโปร่ง พร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน    มีผู้คนเข้ามานั่งพักผ่อนภายในสวนนกกันมากพอสมควร บริเวณหน้าอ่างน้ำมีบริการรถรางนำเที่ยวชมสวนนกโดยรอบ รอบหนึ่งไปได้ประมาณ 30 คน  โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำสถานที่ต่างๆ ให้เราได้ฟังและบรรยายเกี่ยวกับนกพันธุ์ต่าง ๆ ให้เราได้รู้จักอีกด้วย  โดยจะแวะจุดต่าง ๆ ให้เราได้ลงไปเยี่ยมชมตลอดเส้นทาง โดยไม่คิดค่าบริการ

สวนนกชัยนาท จ.ชัยนาท :: สวนนกชัยนาท

                  ภายในสวนนกก็มีอาคารแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยภายในอาคารมีพันธุ์ปลาน้ำจืดมากมายจัดแสดงในแบบเป็นตู้ปลาและอุโมงค์ปลา ถือว่าเป็นสถานที่ที่น่าสนใจแห่งใหม่ของสวนนกชัยนาท ภายในอาคารติดแอร์เย็นสบาย และในอาคารมีพันธุ์ปลาน้ำจืดมากกว่า 50 ชนิด มีการจัดสถานที่ไว้อย่างสวยงาม ในอุโมงค์ปลามีปลามากมายหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาบึก, ปลากา, ปลาแรดเผือก นอกจากนี้ยังมีพวก ปลาตะเพียนขาว และปลาน้ำจืดอีกหลายสายพันธุ์   เป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ปลาน้ำจืดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นสถานที่พักผ่อนดูปลาอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทยเปิดให้ชมฟรี  ตั้งแต่เวลา 8.00 -17.00 น

อุโมงค์และตู้ปลาแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด :: สวนนกชัยนาท

กิจกรรมที่น่าสนใจในสวนนกชัยนาท 

เที่ยวชมสวนนกที่ร่มรื่น, ศึกษาเรื่องราวของนกนานาพันธุ์, ชมและศึกษาพันธุ์ปลาหลากชนิด, ฃื้อหาสินค้าโอท็อปของดีเมืองชัยนาท

สวนนกชัยนาท จ.ชัยนาท :: สวนนกชัยนาท

การเดินทาง

สวนนกชัยนาทอยู่ห่างจากกรุงเทพเพียง 200 กิโลเมตร เดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย ผ่านอยุธยา สิงห์บุรีถึงทางแยกเข้าชัยนาท-ตาคลี ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 เข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร สวนนกจะตั้งอยู่ขวามือประตูทางเข้าทำเป็นขนาดใหญ่มองเห็นง่าย และมีป้ายบอกตลอดการเดินทาง

 ที่มา : http://www.siamfreestyle.com/travel-attraction/chainat

post by : น.ส.ศรัญญา   มีมุ้ย

สถานที่ท่องเีที่ยว จ.เลย

Posted: กุมภาพันธ์ 24, 2012 by gamyuy in Uncategorized
 ภูกระดึุง

ผาหล่มสัก

   ภูกระดึง  

                    ภูกระดึง เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นภูเขาหินทรายยอดตัด เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีความสูง 400-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพทั่วไปของภูกระดึง ประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปี บนยอดภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยว ปรารถนาและหวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึง สักครั้งหนึ่งในชีวิต

                     สำหรับการเดินทางขึ้นภูกระดึงนั้น ทางอุทยานฯ จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 07.00 – 14.00 น. ของทุกวัน และหลังจากเวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ทางอุทยานฯ จะไม่อนุญาต เพราะระยะทางในการเดินทางขึ้นเขาต้องใช้เวลาในการเดินเท้า ประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะตรงกับเวลาพลบค่ำในระหว่างทาง ดังนั้น อาจจะทำให้เกิดความยากลำบาก อีกทั้งอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืนอีกด้วย

น้ำตกเพ็ญพบใหม่

จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนภูกระดึง

        ผานกแอ่น... เป็นลานหินเล็กๆ มีสนต้นหนึ่ง ขึ้นโดดเด่นอยู่ริมหน้าผา เป็นจุดท่องเที่ยวชมพระอาทิตย์ขึ้น ที่สำคัญอยู่จากที่พักศูนย์วังกวางเพียง 2 กิโลเมตร ในทุกเช้าของหน้าหนาวจะมีนักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปกันมากและ มักจะมีการชิงทำเลดีๆ เสมอ สมัยนี้ทางไปมักมีช้างอาละวาด ตอนเช้าจะต้องไปพร้อมเจ้าหน้าที่เสมอ ห้ามไปเอง เป็นอันขาด
นอกจากนั้น หากอากาศดีพอ ในช่วงเวลาที่เดินเท้าฝ่าความมืดมาชมพระอาทิตย์ขึ้นนั้น เป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับ เวลาที่พระจันทร์กำลังจะลับขอบฟ้า ด้านตะวันตกนั้นจะได้เห็นภาพสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นเป็นสวนหินมีดอกกุหลาบป่าขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ ซึ่งจะบานสะพรั่งเต็มต้นในเดือน มีนาคม-เมษายน และใครที่อยากไปชมประอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น ควรเตรียมไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางไปด้วย

         ผาหล่มสัก… ถ้าไม่มาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่ ก็เหมือนไม่ได้มาเยือนภูกระดึง …หลายคนถึงกับออกปากไว้แบบนั้น ตัวผาหล่มสักอยู่ห่างจากผาแดง 2.5 กิโลเมตร หากเดินมาจากแยกศูนย์โทรคมนาคมกองทัพอากาศ บนเส้นทางน้ำตก แต่ถ้าเดินจากที่พักศูนย์วังกวาง จะมีระยะประมาณ 9 กิโลเมตร หากจะมาต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะขากลับจะมืดกลางทางอย่างแน่นอน  ด้วยลักษณะแผ่นหินแปลกตากับโค้งกิ่งสนที่รองรับกันพอดิบพอดีเช่นนี้ นักท่องเที่ยวจึงนิยมจะใช้เป็นจุดชมวิว ดูดวงอาทิตย์ตกดิน และน่าจะถือได้ว่าเป็นภาพที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง แนะนำสักนิดสำหรับผู้ที่จะไปชมประอาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก ควรเตรียมเสื้อกันหนาวและไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางเวลาเดินกลับที่พัก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง

         ผาหมากดูก… อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.5 กิโลเมตร เป็นผาที่มีลานหินกว้างขวาง เป็นผาสำหรับชมพระอาทิตย์ตกที่ใกล้ที่พักมากที่สุด สามารถชมทิวทัศน์ภูผาจิตในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในช่วงต้นฤดูฝนจะมีดอกกระเจียวขึ้นเต็มทุ่งตามเส้นทางสู่ผาหมากดูก

         น้ำตกวังกวาง… ชื่อก็บอกอยู่แล้ว น้ำตกวังกวางอยู่ใกล้ที่พักศูนย์วังกวางมากที่สุด โดยมีระยะทางห่างแค่ราว 1 กิโลเมตรเท่านั้นเอง ห้วยเล็กๆ ที่โอบล้อมที่พักอีกด้านจะไหลลงน้ำตกที่นี่ วังกวางเป็นน้ำตกเล็กๆ ชั้นที่สูงสุด จะสูงประมาณ 7 เมตร ด้านข้างของน้ำตกมีทางแคบๆ สำหรับปีนลงไปทีละคน จะพบหลืบหินมีลักษณะคล้ายถ้ำใต้น้ำตกน้ำตกวังกวางจะมีความสวยงามมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม บริเวณนี้จะมีทากชุม เพราะเป็นด่านช้าง หรือทางช้างเดิน ส่วนในฤดูท่องเที่ยวซึ่งเป็นฤดูแล้ง ปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้ง่ายใกล้ที่พัก

         น้ำตกถ้ำสอเหนือ… อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 4.8 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูง 10 เมตร น้ำไหลมาจากผาเป็นม่านน้ำตก บริเวณเหนือน้ำตกมีดงกุหลาบแดงซึ่งในช่วงฤดูร้อนจะผลิดอกสร้างสีสรรค์ให้กับบริเวณนี้สวยงามยิ่งขึ้น

         น้ำตกเพ็ญพบใหม่… เกิดจากลำธารวังกวาง น้ำตกผ่านผาหินรูปโค้ง ในหน้าหนาว ใบเมเปิ้ลที่อยู่บริเวณริมน้ำตกจะร่วงหล่นลอยไปตามผิวน้ำยามแดดสาดส่องผ่านลงมาจะเป็นสีแดงจัดตัดกับสีเขียวขจีของตะไคร่น้ำตามโขดหิน ลำธารวังกวางเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่มีชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกโผนพบ ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของชาวไทยในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ

         สระอโนดาด… อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.7 กิโลเมตร เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่นักที่มีต้นสนขึ้นเป็นแนวแน่นขนัด ใกล้กันยังมีลานกินรี ซึ่งเป็นสวนหินธรรมชาติที่อุดมไปด้วยพรรณไม้ทั้งพวกกินแมลงอย่างดุสิตา หยาดน้ำค้าง หรือเฟิร์น เช่น กระปรอกสิงห์ บนหินยังมีไลเคนขึ้นอยู่เต็มไปหมดด้วย

น้ำตกถ้ำสอเหนือ

การเดินทาง

1.รถโดยสารประจำทาง

โดยสารรถยนต์จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) กรุงเทพมหานคร ไปลงที่ผานกเค้า ซึ่งเป็นเขตต่อแดนระหว่างชุมแพ-ภูกระดึง แล้วโดยสารรถประจำทาง(รถสองแถว) ไปลงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จากนั้นก็เดินต่อขึ้นไปยอดภูกระดึงควรใช้รถประจำ หรือหากนักท่องเที่ยวใช้รถประจำทางเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ลงที่ชุมแพ และต่อรถสายขอนแก่น-เลย ไปลงที่ตลาดอำเภอภูกระดึง ซึ่งจะมีรถสองแถวต่อถึงไปอุทยานฯ

2.รถไฟ

จากกรุงเทพมหานครโดยสารรถไฟไปลงที่ขอนแก่น จากนั้นโดยสารรถประจำทางสายขอนแก่น-เลย ไปยังหน้าตลาดที่ว่าการอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถสองแถว หรือเดินทางต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นปีนเขาขึ้นยอดภู จากนั้นต้องเดินเท้าขึ้นยอดภู อีก 5 กิโลเมตร จึงจะถึง “หลังแป” แล้วเดินเท้าไปตามทุ่งหญ้าอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่พักบนยอดภูกระดึงทางอุทยานฯ ได้จัดลูกหาบสัมภาระของนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนยอดภูกระดึง คิดค่าบริการเป็นกิโลกรัม

3.รถส่วนตัว (สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง)

1. เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

2. ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่านและตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

3. เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2

น้ำตกโผนพบ

 ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/25430

post by : น.ส.ศรัญญา   มีมุ้ย

สถานที่ท่องเที่ยว จ.เชียงราย

Posted: กุมภาพันธ์ 24, 2012 by gamyuy in Uncategorized
สามเหลี่ยมทองคำ

สามเหลี่ยมทองคำ

                         สามเหลี่ยมทองคำตั้งอยู่ห่างจากเชียงแสนไปทางทิศเหนือ 9 กิโลเมตร ตามถนนเลียบริมแม่น้ำโขง สบรวกเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว มาพบกับแม่น้ำรวก ซึ่งกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า จากจุดนี้นักท่องเที่ยวจะมองเห็นฝั่งพม่าและลาวได้ถนัดชัดเจน สามเหลี่ยมทองคำเป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นักท่องเที่ยว เพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นไร่ฝิ่นที่ใหญ่โตมาก เรียกว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นที่ว่านี้อีกแล้ว คงเหลือแต่ทิวทัศน์ที่เงียบสงบของลำน้ำและเขตแดนของ 3 ประเทศเท่านั้น เป็นจุดที่แม่น้ำรวก ซึ่งกั้นพรมแดนไทยและพม่า มาบรรจบกันแม่น้ำโขงที่กั้นไทยกับลาว จุดนี้นักท่องเที่ยวจะเห็นฝั่งพม่าและลาวได้ถนัด
ชัดเจน สามเหลี่ยมทองคำเป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นักท่องเที่ยว เพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นไร่ฝิ่นที่ใหญ่โตมากเรียกว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นที่ว่านี้อยู่แล้ว คงเหลือแต่ทิวทัศน์ที่เงียบสงบของลำน้ำและเขตแดนของ 3 ประเทศเท่านั้น แต่ผู้คนก็ยังคงพากันเดินทางมาสัมผัสกับตำนานสามเหลี่ยมทองคำโดยมีที่มาขอชื่อ ว่าหลังจากที่พม่า
ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และลาวถูกฝรั่งเศสยึดครอง ก็เกิดการค้าขายสินค้าด้วยระบบและเปลี่ยนกันขึ้นโดยทางฝั่งพม่านั้นจะมีผ้าแพร สินค้าจากจีน กระทะทองเหลือ และฝิ่นเป็นสินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนกับผ้าไหม ทองคำแผ่น และทองคำแท่งของพ่อค้าฝั่งลาว ซึ่งพ่อค้าลาวจำเป็นต้องล่องเรือตามลำน้ำโขงมาขึ้นที่บ้านป่าสัก เขตเมืองพงของพม่าซึ่งตั้งอยู่เหนือบ้านสบรวกของไทย ปีหนึ่ง ๆ มีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันประมาณ 4-5 ครั้ง ทำให้บ้านป่าสักกลาย เป็นบริเวณขายที่เฟื่องฟูมากของสมัยนั้น และเพราะการและเปลี่ยนด้วยทองคำนี้เองจึงทำให้ชาวบ้านเรียกขานบริเวณนี้กันจนติดปากว่า “สามเหลี่ยมทองคำ”

 กิจกรรมท่องเที่ยวบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
1. ล่องเรือชมวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำโขง
นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ 300-400 บาทนั่งได้ 6 คน ที่สามเหลี่ยมทองคำจะมีท่าเรือไว้บริการหลายท่า ถ้าต้องการนั่งชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำโขงไปไกลถึงเชียงแสนและเชียงของ ก็สามารถหาเช่าเรือได้ ค่าเรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกลนักท่องเที่ยวที่สนใจล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีนเช่นสิบสองปันนาคุนหมิง สามารถติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงรายได้หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้างของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ย ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง
2. นมัสการพระเชียงแสนสี่แผ่นดิน
พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน หรือ พระพุทธนวล้านตื้อ ประดิษฐานกลางแจ้ง ณ สามเหลี่ยมทองคำ พระพุทธนวล้านตื้น องค์นี้เป็นพระเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งได้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง และสร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง 15.99 ม. ประทับนั่งบน “เรือแก้วกุศล
ธรรม” ขนาดใหญ่
3. ถ่ายรูปคู่กับซุ้มประตูสามเหลี่ยมทองคำ
นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำมักไม่พลาดที่จะถ่ายรูปกับ ซุ้มประตู สามเหลี่ยมทองคำ ที่มีวิวแม่น้ำโขงเป็นฉากหลัง
4. ช้อปปิ้งซื้อของที่ระลึก

การเดินทาง

1. รถยนต์ส่วนตัว 

ใช้ทางหลวงหมายเลข 10 เมื่อผ่านอ. แม่จันเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1016 (แม่จัน-เชียงแสน) ระยะทาง 29 กิโลเมตร ก่อนถึงกำแพงเมืองเกาเชียงแสนมีสี่แยกบายพาส เลี้ยวซ้ายมีป้ายบอกทางไปสามเหลี่ยมทองคำ หรือเลือกทางตรงไปผ่านอำเภอเชียงแสน จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเลียบน้ำโขงอีก 12 กิโลเมตร

2. รถโดยสารประจำทาง

จากเชียงรายนั่งรถบัสสีเขียวสายเชียงราย เชียงแสน
ที่มา : http://www.tourdy.com/travel
post by : น.ส.ศรัญญา   มีมุ้ย

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จ.สุราษฎร์ธานี

 วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร อยู่ตำบลเวียง ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ ๕๔ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๔๑ และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๐๑๑ เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ ๑๓๗ องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถาน ที่สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ ๔ ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง ๔ ด้าน พระธาตุไชยานับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. ๐ ๗๗๔๓ ๑๐๙๐, ๐ ๗๗๔๓ ๑๔๐๒

พระบรมธาตุไชยา

พระบรมธาตุไชยา เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ เจดีย์พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ถ้ำคูหาภิมุข จังหวัดยะลา

ที่ตั้ง

พระบรมธาตุไชยาอยู่ในวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดโบราณของจังหวัด ตั้งอยู่เลขที่ 50 หมู่ที่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ห่างจากสถานีรถไฟทางตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร มีถนนรักษ์นรกิจตัดผ่านหน้าวัด

ข้อมูลทั่วไป

จากคำบอกเล่าของชาวเมืองไชยาได้มีตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยาว่า ครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวอินเดียสองคนชื่อ ปะหมอ กับปะหมัน ทั้งสองเดินทางโดยเรือใบเข้ามาถึง เมืองไชยา ได้พาบริวารขึ้นบกที่บ้านนาค่ายตรงวัดหน้าเมือง ในตำบลเลเม็ด เจ้าเมืองมอบให้ปะหมอ ซึ่งเป็นนายช่างมีความเชี่ยวชาญการก่อสร้าง สร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ครั้นเสร็จก็ตัดมือตัดเท้า เสีย เพื่อมิให้ปะหมอไปสร้างเจดีย์ที่งดงามเช่นนี้ให้ผู้ใดอีก ปะหมอทนบาดพิษบาดแผลไม่ได้ ถึงแก่ความตาย เจ้าเมืองได้หล่อรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรไว้ เป็นเครื่องหมายแทนตัวปะหมอ ส่วนน้องชายที่ชื่อปะหมันได้ไปครองเกาะพัดหมัน และตึงรากอยู่ที่นั้นจนกระทั่งสิ้นชีวิต สถานที่ตั้งบ้านเรือนของปะหมันนั้นเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง มีนาล้อมเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่เศษ สมัยโบราณที่นี่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก คณะมโนราห์ที่เดินทางผ่านจะต้องหยุดไหว้รำร้องถวายมือ คณะใดไม่เคารพคนในคณะจะชัก หรือเกิดเหตุขัดข้องต่างๆ ถ้าใครไปตั้งคอกเลี้ยวหมูในบริเวณดังกล่าวหมูจะตายหมดทั้งคอก

เจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียวที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้าง เข้าใจว่าสร้างในขณะที่เมืองไชยาสมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

หลักฐานที่ยืนยันถึงอาณาจักรศรีวิชัยอายุไม่ต่ำกว่า 1200 ปี จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ใช้ภาพของ เจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกอง และผ้าพันคอลูกเสือด้วย ซึ่งถือกันว่าถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี หากไม่ได้ไปนมัสการ พระบรมธาตุไชยาแล้วก็เหมือนกับยังไปไม่ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมนั้น มีลักษณะเป็นเจดีย์องค์เดียว ในปัจจุบันที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด 24 เมตร ตั้งอยู่ บนฐาน สี่เหลี่ยมสูงย่อเก็จ ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันตกยาว 13 เมตร ฐานนี้สร้างก่อนสมัยที่ พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสโส) จะบูรณะ ตั้งอยู่บนผิวดินซึ่งมีระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบัน ทางวัดได้ขุด บริเวณโดยรอบ ฐานเป็นเสมือนสระกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 60-70 เซนติเมตร เพื่อให้ฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปี บางปีในหน้าแล้งรอบๆ ฐานเจดีย์พระบรมธาตุ จะแห้ง มีตาน้ำพุ ขึ้นมา ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถแก้โรคภัยต่างๆ ได้ ต่อมาทางวัด ได้ใช้ปูนซีเมนต์ ปิดตาน้ำเสีย

โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อ มุขด้านหน้าหรือมุขด้านตะวันออก เปิดมีบันไดขึ้นสำหรับให้ประชาชนเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปภายในเจดีย์ เมื่อเข้าไปภายใน จะเห็นองค์พระเจดีย์หลวง เห็นผนังก่ออิฐแบบไม่สอปูนลดหลั่นกันขึ้นไปถึงยอดมุข อีกสามด้าน ทึบทั้งหมด ที่มุมฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศหรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่ด้วย หลังคาทำเป็น 3 ชั้นลดหลั่น กันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับรูปวงโค้งขนาดเล็กและสถูปจำลองรวม 24 องค์ เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอด ซึ่งได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 5 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอ ระฆัง ทำให้เห็นลวดลายละเอียดเสียหายมาก รวมทั้งฐานเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินได้ขุดดินโดยรอบฐาน พระเจดีย์ และทำลายรากไม้ในบริเวณนั้นแล้ว ก่ออิฐถือปูนตลอดเพื่อให้เห็นฐานเดิมของเจดีย์

อีกทั้งลวดลายประดับเจดีย์ ได้มีการสร้างเพิ่มเติมใหม่ด้วยปูนปั้นเกือบทั้งหมด เป็นลายปั้นใหม่ ตามความคิดของผู้บูรณะ มิได้อาศัยหลักทางโบราณคดี รวมถึงลานระหว่างเจดีย์และพระระเบียง เปลี่ยนจากอิฐหน้าวัวเป็นกระเบื้องซีเมนต์ จนถึงในรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ.2521-2522 ได้รับการ บูรณะปฎิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้ง โดยการบูรณะในครั้งนี้เป็นการซ่อมแซมของเก่าที่มีอยู่เดิมให้คง สภาพดี เพื่อไว้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของชาติสืบต่อไป

 

อ้างอิง http://www.dhammathai.org/watthai/south/watphraboromthatchaiya.php

http://www.gosouththai.com/Travel/detailtrav.asp?key=286

http://www.livekalasin.com/webboard/viewthread.php?tid=3021&extra=page%3D1

นรกมล ไม้รอ post